ท่อมีกี่ประเภท แต่ละประเภทใช้ทำอะไรบ้างนะ?
ในงานก่อสร้างท่อนับเป็นวัสดุที่ขาดไม่ได้สำหรับทุกไซท์งาน ที่ต้องใช้ในงานระบบทั้งระบบไฟฟ้า และระบบประปา ซึ่งท่อนั้นมีมากมายหลากหลายประเภท แต่ละประเภทก็ใช้สำหรับวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันไป วันนี้เฮียเชษฐจะมาแนะนำว่าท่อแต่ละชนิดจะเหมาะสมกับงานประเภทใดบ้าง เพราะถ้าหากใช้ผิดประเภทแล้วก็อาจจะทำให้เกิดความเสียหาย หรือเป็นการเปลืองต้นทุนโดยใช่เหตุได้ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วสามารถแบ่งออกได้เป็น5ประเภทหลักๆ


1.ท่อเหล็ก
-ท่อประปาเหล็กอาบสังกะสี โดยท่อประเภทนี้จะทำจากเหล็กกล้า แล้วนำไปอาบสังกะสี จึงทำให้ทนทานต่อการเกิดสนิม ข้อดีคือสามารถทำเกลียวได้ง่าย โดยมีหลายความหนาให้เลือก หากหนาสุดจะมีสายคาดสีแดง หนาปานกลางจะมีสายคาดสีน้ำเงิน และบางสุดจะมีสายคาดสีเหลือง
–ท่อเหล็กร้อยสายไฟ มีไว้เพื่อป้องกับอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับสายไฟ ซึ่งมีความหนาบางหลายแบบให้เลือก ได้แก่ EMT ,IMC, และ RSC โดยแบ่งประเภทตามการใช้งานร้อยสายไฟ โดยเฮียเชษฐมีขายหลากหลายแบรนด์ ไม่ว่าจะเป็น Panasonic, Arrow, Union, PAT, และ diamond


ชื่อเต็มๆของท่อPVC คือ Poly Vinyl Chloride เป็นท่อที่ทำมาจากเม็ดพลาสติกโพลิไวนิลคลอไรด์ ถูกนำมาใช้ทดแทนท่อเหล็ก ให้คุณสมบัติการใช้งานที่ครอบคลุม และเลี่ยงปัญหาสนิมขึ้นจากการใช้งานเป็นเวลานาน อีกทั้งยังมีราคาที่ถูกกว่า ข้อดีหลักๆ คือ มีความเหนียวและยืดหยุ่น สามารถทนต่อแรงดันน้ำ มีน้ำหนักเบา เป็นฉนวนสามารถกันไฟฟ้า ราคาถูก ติดตั้งง่าย อย่างไรก็ตามท่อพีวีซีไม่เหมาะกับงานที่มีอุณภูมิสูง เช่น การลำเลียงน้ำร้อน อีกทั้งยังมีความทนทานน้อยกว่าเมื่อเทียบกับท่อเหล็ก
ท่อPVCนั้นยังสามารถแบ่งได้อีกหลายประเภท โดยใช้สีเป็นเกณฑ์ในการแบ่งการใช้งาน
- สีฟ้า ใช้กับงานประปา
- สีเหลือง ใช้กับงานระบบไฟฟ้าแบบฝังกำแพง
- สีขาว ใช้กับงานระบบไฟฟ้าแบบเดินท่อลอย
- สีเทา ใช้กับงานเกษตร
ซึ่งเฮียเชษฐได้เป็นตัวแทนจำหน่ายท่อพีวีซีของยี่ห้อดังครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็น ตราช้าง (SCG), ตราเสือ(SCG), ท่อน้ำไทย, TK, 3A เพื่อให้ผู้รับเหมาได้มีตัวเลือกที่หลากหลายในทุกระดับราคาและการใช้งาน


3. ท่อไซเลอร์ (SYLER)
ท่อชนิดนี้เป็นท่อเหล็กชุบสังกะสี ซึ่งภายในบุด้วยสารPE ซึ่งช่วยป้องกันสนิม คุณสมบัติหลักๆ มีความแข็งแรง ทนทาน สามารถรับแรงกระแทกได้ดี ทนต่อความดัน ราคาจะค่อนข้างสูงกว่าท่อชนิดอื่น ท่อชนิดนี้มักถูกนำมาใช้แทนท่อเหล็กประปา ที่เกิดสนิมได้ง่ายและมีอายุการใช้งานที่สั้นกว่า


ชื่อเต็มของท่อPPR คือ Polypropylene Random Copolymer ซึ่งเป็นเม็ดพลาสติกคุณภาพสูง จุดเด่นหลักๆคือสามารถเชื่อมข้อต่อกับท่อเป็นเนื้อเดียวกันได้โดยใช้ความร้อน ซึ่งช่วยลดปัญหาการรั่วซึม ส่วนใหญ่แล้วท่อPPRจะถูกใช้ในงานระบบประปา ซึ่งมีคุณสมบัติในการทนต่อความร้อนได้ดีกว่าท่อPVC จึงสามารถใช้กับท่อน้ำร้อนได้ นอกจากนี้ยังมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน และสามารถทนแรงดันได้สูง แข็งแรงกว่าเมื่อเทียบกับท่อพีวีซี นอกจากนี้ยังมีราคาที่ถูกกว่าท่อเหล็ก ปัจจุบันนิยมใช้กันในระบบอาคารสูง หรืออาคารที่มีงบประมาณมากกว่าการใช้ท่อพีวีซี ยี่ห้อที่นิยมใช้กันทั่วไปในท้องตลาดคือ ท่อพีพีอาร์ ตราช้าง หรือ เอสซีจี และไทยพีพีอาร์
5. ท่อพีอี (PE)
ท่อพีอีนั้นเป็นท่อที่ทำมาจาก Polyethylene thermoplastic คุณสมบัติหลักๆของท่อPE มีความหนาแน่นและยืดหยุ่นสูง สามารถโค้งงอได้ดี ไม่แตกหักง่าย สะดวกต่อการใช้งานสามารถม้วนเก็บได้ และใช้ข้อต่อน้อยมาก
ซึ่งสามารถแบ่งออกได้2ประเภท
1.HDPE (High Density PolyEthyiene) ซึ่งผลิตมาจากเรซินพอลิเอทิลีนชนิดความหนาแน่นสูง โดยตัวท่อจะมีสีดำ หากคาดเส้นสีฟ้าจะใช้สำหรับงานระบบประปา หากคาดเส้นสีส้มจะใช้สำหรับงานไฟฟ้า นิยมใช้สำหรับงานประปาหรือร้อยสายไฟรอบตัวอาคาร เป็นต้น เนื่องจากสามารถทนแสงยูวีได้ดี
2.LDPE (Low Density PolyEthyiene) ซึ่งผลิตมาจากโพลีเอทิลีน ตัวท่อจะมีสีดำ มีคุณสมบัติในการม้วนงอยืดหยุ่นและนิ่มกว่าHDPE แต่จะไม่ทนต่อความร้อน ดังนั้นราคาจึงต่ำกว่า ส่วนใหญ่นิยมใช้ในงานเกษตรกรรม
เฮียเชษฐหวังว่าเพื่อนๆจะรู้จักท่อแต่ละชนิดกันมากขึ้นแล้วก็อย่าลืมเลือกใช้ท่อให้เหมาะสมกับงานกันนะครับ ซึ่งเฮียเชษฐก็ได้คัดสรรสินค้าดี มีคุณภาพ ในราคาย่อมเยาว์มาให้ผู้รับเหมาทุกคนได้เลือกกันมากมาย หากมีข้อสงสัยหรือต้องการคำแนะนำ สามารถติดต่อได้ตามข้อมูลการติดต่อด้านล่างได้เลย
หรือสายด่วนโทร 097-234-5734
ทำความรู้จักท่อร้อยสายไฟ
ปฏิเสธไม่ได้ว่าในการก่อสร้างหรือการเก็บงานต่างๆ นั้น สิ่งสำคัญที่ทุกบ้านจะต้องมีก็คือท่อร้อยสายไฟ ไม่ว่าจะเป็นสายไฟที่ฝังลงในผนังหรือเดินสายลอย สาเหตุสำคัญที่จำเป็นจะต้องมีท่อสายไฟก็เพื่อช่วยป้องกันไม่ให้สายไฟฟ้าเกิดความเสียหาย ซ่อนสายไฟฟ้าไม่ให้เกะกะหรือรก รวมไปถึงช่วยป้องกันไม่ให้เกิดไฟไหม้กรณีที่ไฟลัดวงจร เพราะว่าตัวประกายไฟนั้นจะถูกจำกัดให้อยู่เฉพาะภายในท่ออย่างเดียว ไม่ทำให้ออกมาติดกับสิ่งของภายนอกท่อได้อีกด้วย


ประเภทของท่อร้อยสายไฟ
ท่อร้อยสายไฟมีหลายประเภทให้เลือกใช้งานตามความเหมาะสม เนื่องจากท่อสายไฟมีให้เลือกทั้งแบบท่อเหล็กและท่อพลาสติก แต่ละแบบจะสามารถใช้เก็บสายไฟในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป
ท่อเหล็ก
สำหรับท่อร้อยสายไฟแบบเหล็ก จะมีอยู่ 3 ประเภทหลักๆ ด้วยกัน นั่นคือท่อเหล็กชนิดบาง, ชนิดหนาปานกลาง และชนิดหนา เนื่องจากท่อเหล็กแต่ละแบบจะเหมาะกับการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งแบรนด์ที่มีผลิตภัณฑ์ท่อสายไฟแบบเหล็กนั้นจะมีให้เลือกตั้งแต่ Panasonic, Arrow Pipe และ Union เป็นต้น
ท่อเหล็กชนิดบาง
ท่อเหล็กชนิดบางหรือ Electrical Metallic Tubing (ท่อ EMT) จะเป็นท่อโลหะขนาดบางและมีตัวอักษรบนท่อเหล็กสีเขียว ใช้สำหรับเดินลอยภายในอาคารหรือฝังในผนังเท่านั้น ไม่สามารถฝังดินหรือฝังในพื้นคอนกรีตได้
ท่อเหล็กชนิดหนาปานกลาง
ท่อเหล็กชนิดหนาปานกลางหรือ Intermediate Conduit (ท่อ IMC) เป็นท่อที่เหมาะสำหรับเดินลอยภายนอกอาคารหรือฝังในผนังและพื้นคอนกรีตได้ ตัวอักษรบนท่อเหล็กจะมีสีแดง/ส้ม
ท่อเหล็กชนิดหนา
ท่อเหล็กชนิดหนาหรือ Rigid Steel Conduit (ท่อ RSC) เป็นท่อร้อยสายไฟที่สามารถใช้เดินลอยภายนอกอาคาร ฝังในผนัง พื้นคอนกรีต และพื้นที่ที่อันตราย รวมไปถึงฝังลงดินโดยตรงได้ ตัวอักษรบนท่อเหล็กจะมีสีดำ
ท่อพลาสติก
สำหรับท่อร้อยสายไฟพลาสติกนั้น จะมีให้เลือกใช้งานทั้งท่อ PVC และท่อ HDPE ซึ่งท่อ PVC มีคุณสมบัติในการทนต่อความชื้น ไม่ขึ้นสนิม มีให้เลือก 2 สีด้วยกัน นั่นคือท่อสีเหลืองและท่อสีขาว มีให้เลือกซื้อทั้งจาก ตราช้าง, ตราเสือ, ท่อน้ำไทย เป็นต้น ส่วนท่อ HDPE จะมีคุณสมบัติที่โดดเด่นกว่าท่อ PVC เนื่องจากมีความยืดหยุ่นสูงมาก สามารถคงรูปเดิมได้โดยไม่ต้องใช้วัตถุแข็งเกร็ง ติดตั้งง่าย มีให้เลือกทั้งท่อจากแบรนด์ TAP, UHM Group และ TGG เป็นต้น
ท่อ PVC สีเหลือง
ท่อ PVC สีเหลือง จะเป็นท่อร้อยสายไฟฟ้าและสายโทรศัพท์ เน้นความเป็นฉนวนไฟฟ้า นิยมใช้ภายในอาคารหรือฝังกำแพง ทนต่อความร้อน ไม่นำไฟฟ้าเมื่อเกิดเหตุการณ์ไฟฟ้าลัดวงจร ไม่ลามไฟ แต่ไม่ทนต่อรังสียูวี
ท่อ PVC สีขาว
ท่อ PVC สีขาว เป็นท่อที่นิยมใช้ในการเดินท่อลอย ร้อยสายไฟฟ้าและสายโทรศัพท์ นิยมใช้ในงานต่อเติมหรืองานดีไซน์ สามารถดัดเย็นได้มากกว่า 90 องศา ช่วยในการประหยัดข้อต่อ อีกทั้งยังสามารถทาสีทับได้อย่างง่ายดาย
ท่อ HDPE
ท่อ HDPE เป็นท่อร้อยสายไฟที่มีความอ่อนตัวแต่แข็งแรง สามารถต้านทานความล้าของท่อได้เป็นอย่างดี และรองรับแรงดันได้หลากหลายรูปแบบ สามารถใช้เดินสายภายนอกอาคารฝังผนัง หรือสายใต้ดินได้ ข้อดีคือสามารถดัดโค้งได้ทำให้ถ้าเดินท่อ HDPE ในระยะไกลได้อย่างสะดวกรวดเร็ว
ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นหากเลือกใช้ท่อร้อยสายไฟไม่ได้มาตรฐาน
เนื่องจากท่อสายไฟที่ได้มาตรฐาน จะมีรายละเอียดที่กำหนดเอาไว้อย่างชัดเจนว่าสามารถใช้งานในรูปแบบใดได้บ้าง ถ้าหากเลือกใช้ไม่ตรงกับประเภทของท่อสายไฟ อาจจะทำให้เกิดปัญหาตามมาได้ ไม่ว่าจะเป็น
- ท่อสายไฟเปราะจนแตก ทำให้หนูหรือของมีคมหลุดเข้าไปบาดสายไฟได้
- หากใช้ท่อสายไฟที่ไม่สามารถใช้งานนอกอาคารได้ แต่นำไปใช้งานนอกอาคาร อาจทำให้ท่อเกิดการกรอบแตก และไม่สามารถป้องกันสายไฟฟ้าภายในนั้นได้อย่างเต็มที่
- หากใช้ท่อที่ไม่ได้มาตรฐาน เมื่อเกิดเหตุการณ์ไฟฟ้าลัดวงจร อาจทำให้กระแสไฟฟ้ารั่วจนช็อตออกมาภายนอกท่อ และทำให้เกิดเพลิงไหม้ได้
- อาจทำให้เสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการติดตั้งหรือเปลี่ยนท่อสายไฟใหม่
สำหรับการตัดสินใจเลือกซื้อท่อร้อยสายไฟที่ได้มาตรฐานในราคาที่คุ้มค่า ควรสั่งจากตัวแทนจำหน่ายที่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องนี้ เพื่อให้ได้สินค้าที่ได้มาตรฐาน ใช้งานได้อย่างยาวนาน เฮียเชษฐ ผู้ให้บริการสินค้าและวัสดุก่อสร้างสำหรับผู้รับเหมาโดยเฉพาะ ตอบโจทย์ทุกความต้องการในการเลือกซื้อเลือกหาได้อย่างดี สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมและรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้าได้ที่เบอร์ 097-234-5734 หรือ LINE ID: @Hiachet (มีเครื่องหมาย @ ด้านหน้า)