สำหรับมือใหม่ที่ต้องการต่อสปริงเกอร์กับท่อ pe หรือต้องการวางระบบน้ำในสวนเอง อาจจะมองว่า เป็นวิธีการที่ยุ่งยาก และต้องใช้ช่างเท่านั้น แต่ความจริงแล้วมือใหม่หัดเดินท่อ หรือหัดต่อสปริงเกอร์ก็สามารถทำเองได้เช่นกัน เพียงแค่รู้หลัก และมีอุปกรณ์ที่พร้อมเท่านั้น วันนี้เฮียเชษฐ์จึงมีวิธีการต่อสปริงเกอร์แบบเข้าใจง่ายๆ มาฝากกันครับ

สปริงเกอร์
หนึ่งในอุปกรณ์ยอดฮิตของระบบน้ำในสวน

หากพูดถึงอุปกรณ์สำหรับใช้วางระบบน้ำในสวนเพื่อรดน้ำต้นไม้ “สปริงเกอร์” ก็จะจัดเป็นอุปกรณ์ที่หลายคนนิยมเลือกใช้ เนื่องจากมีให้เลือกหลากหลายแบบ ใช้งานง่ายมีระบบบีบอัดน้ำได้ดี ช่วยทุนแรงและประหยัดเวลา

หัวสปริงเกอร์แบบต่างๆ แตกต่างกันอย่างไร? 

ก่อนเริ่มการใช้งานการใช้งานสปริงเกอร์ เจ้าของบ้านควรเลือกหัวสปริงเกอร์ ให้เหมาะสมกับการใช้งานชและพื้นที่ขนาดพื้นที่ เช่น สปริงเกอร์ระยะไกล และระบบการจ่ายน้ำแบบระยะใกล้ๆ ในพื้นที่เล็กๆ โดยหัวสปริงเกอร์จะมีลักษณะโดดเด่นที่แตกต่างกัน ดังนี้ 

1. หัวสปริงเกอร์รดน้ำแบบหยด หรือ หยดน้ำ (Drip) 

ลักษณะของสปริงเกอร์จะมีการจ่ายน้ำใยรูปแบบของน้ำหยด อัตราการจ่ายน้ำจะเฉลี่ยอยู่ที่ 2-8 ลิตรต่อชั่วโมง ระดับแรงดันน้ำประมาณ 0.5-1 บาร์ หัวสปริงเกอร์แบบหยดจะเหมาะกับรดน้ำต้นไม้หรือผักที่ไม่ต้องรดน้ำบ่อยๆ ข้อเสีย ไม่เหมาะกับนำไปติดตั้งเพื่อจ่ายน้ำรดน้ำต้นไม้ และมักจะเกิดปัญหาอุดตันบ่อย และต้องใช้หัวสปริงเกอรืในการติดตั้งเยอะ

2. หัวสปริงเกอร์แบบละออง (Fogger)

ลักษณะของสปริงเกอร์จะมีการจ่ายน้ำใยรูปแบบของละออง หรือภาษาช่างจะเรียกว่า “หัวพ่นหมอก” จะมีลักษณะการให้น้ำเป็นฝอยละอองขนาดเล็กมาก อัตราการจ่ายน้ำจะเฉลี่ยอยู่ที่ 7- 25 ลิตรต่อชั่วโมง ระดับแรงดันน้ำประมาณ 2-4 บาร์  เป็นสปริงเกอร์ที่นิยมใช้ในพื้นที่ปิดและต้องการเพิ่มความชื้นในอากาศ ข้อเสียไม่เหมาะนำไปรดน้ำต้นไม้-ผัก หรือวางระบบน้ำเพื่อการเกษตร 

 3. หัวสปริงเกอร์แบบเจ๊ทสเปรย์ (Mist / Jet Spray) 

ลักษณะของสปริงเกอร์จะมีการจ่ายน้ำในรูปแบบของละอองเล็กๆ แต่ไม่ฟุ้งเหมือนหมอกเป็นเส้น หรือ อาจจะผสมกันทั้งสองแบบ อัตราการจ่ายน้ำอยู่ที่ประมาณ 40-200 ลิตร  ระดับแรงดันน้ำประมาณ 1-1.5 บาร์ เหมาะกับการใช้รดน้ำในพื้นที่แคบหรือต้นไม้ที่ไม่ต้องจ่ายน้ำทีละเยอะๆ เช่น ไม้ดอก ไม้ประดับ ต้นไม้พุ่มเล็กๆ 

ข้อเสียไม่เหมาะกับใช้ในพื้นที่ขนาดใหญ่ 

 4. หัวสปริงเกอร์แบบมินิสปริงเกอร์ (Mini Sprinkler) 

ลักษณะของสปริงเกอร์จะมีรูปแบบการจ่ายน้ำที่ค่อนข้างหลากหลาย รัศมีการจ่ายน้ำก็กว้างมีให้เลือกตั้งแต่ 1-5 เมตร แต่มินิสปริงเกอร์เป็นทั้งหมด 2 กลุ่มตามการใช้งานดังนี้

เลือกมินิสปริงเกอร์แบบไหนดี 

  • มินิสปริงเกอร์รดน้ำชนิดละอองเล็ก มีอัตราการจ่ายน้ำจะเฉลี่ยอยู่ที่ 35-300 ลิตรต่อชั่วโมง ลักษณะของสปริงเกอร์จะมีรูปแบบการจ่ายน้ำให้เลือก 2 แบบคือ แบบหัวฉีดแคบหรือสปริงเกอร์ระยะใกล้สำหรับต้นไม้พุ่มเล็กๆ และสปริงเกอร์ระยะไกล สำหรับต้นไม้ใหญ่หรือพื้นที่บริเวณกว้างๆ และลมพัดไม่แรง ข้อดีของมินิสปริงเกอร์คือ ไม่จ่ายน้ำเยอะเกินไป ช่วยให้ประหยัดน้ำ
  • มินิสปริงเกอร์รดน้ำชนิดละอองใหญ่ มีอัตราการจ่ายน้ำจะเฉลี่ยอยู่ที่ 400 -1,000 ลิตรต่อชั่วโมง ลักษณะการให้น้ำจะคล้ายๆ แบบละออกเล็ก แต่ว่าจะจ่ายน้ำในปริมาณที่มากกว่า และมีลักาณธหัวสปริงให้เลือกเยอะกว่า เช่น หัวสปริงเกอร์แบบพุ่งกระจาย หัวสปริงเกอร์แบบหมุนเกลียว หัวสปริงเกอร์แบบเม็ดฝอย ข้อดีคือ ช่วยกระจายยน้ำเร็ว แต่ว่าเปลืองน้ำ

ประเภทการติดตั้งสปริงเกอร์

ในปัจจุบันจะแบ่งการติดตั้งสปริงเกอร์รดน้ำออกเป็น 2 แบบ คือ 

1. ติดตั้งแบบใต้ดิน (Underground)

คือ การติดตั้งสปริงเกอร์จฝังอยู่ใต้ดิน เวลาใช้งานหัวสปิงเกอร์จะโผลออกมา เหมาะสำหรับเน้นความสวยงาม เช่น จัดสวนในบ้าน สนามกอล์ฟ สนามฟุตบอล

2. ติดตั้งแบบบนดิน (Aboveground) 

คือ การติดตั้งสปริงเกอร์ที่จะต้องสวมต่อกับท่อพีอี (PE) หรือท่อพีวีซี (PVC) เพื่อการจ่ายน้ำ เหมาะสำหรับใช้รดน้ำต้นไม้หรือผักเพื่อการเกษตร 

การต่อสปริงเกอร์ท่อ PE แบบมือใหม่
ทำได้ด้วยตัวเอง 

วิธีต่อสปริงเกอร์เข้ากับท่อ PE สามารถทำได้ง่ายๆ เพียงมีอุปกรณ์ดังนี้ 

  • ท่อ PE ขนาดที่ต้องการ 
  • ข้อต่อชนิดสามทาง ข้องอ เกลียวแปลง ขนาดที่ต้องการ
  •  เทปสำหรับพันเกลียวชนิดกันน้ำ 
  • สปริงเกอร์ชนิดที่ต้องการ 

วิธีทำ

  1. วัดขนาดพื้นที่ที่ต้องการเดินท่อ PE แล้วตัดท่อให้ได้ขนาดความยาวที่ต้องการ ทำความสะอาดท่อ PE ให้สะอาดจนมั่นใจว่าจะไม่มีปัญหาอุดตันในอนาคต 
  2. นำเกลียวแปลงต่อกับก๊อกน้ำ หรือ หากต้องการตั้งเวลาได้ก็ติดกับเครื่องตั้งเวลา พันด้วยเทปสำหรับพันเกลียวชนิดกันน้ำเพื่อป้องกันการรั่วซึมในอนาคต
  3. นำข้อต่อมาสวมท่อ PE และหัวสปริงเกอร์เข้าด้วยกัน ในการเชื่อมข่อต่อแนะนำให้ดันสายให้เข้าไปให้สุดข้อต่อเพื่อป้องกันหลุดและพันด้วยเทปสำหรับพันเกลียวอีกครั้ง
  4. ปรับมุมให้ท่อ PE และหัวสปริงเกอร์ให้มีทิศทางตรงกันและถูกต้อง จากนั้นให้ลองเปิดน้ำดุว่าหัวสปริงเกอรืจ่ายน้ำออกมาเต้มวงหรือไม่ หรากไม่เต็มให้สัญนิฐานว่า ภายในท่ออาจจะทำความสะอาดไม่หมด หรือ แรงดันน้ำไม่พอแนะนำให้ติดปั้มน้ำเพิ่ม 

การเดินท่อ PE ในสวน 

ในสวนบ้านนั้นคนส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญกับความสวยงามเป็นหลัก ดังนั้นการเดินท่อ PE ในสวนจึงนิยมใช้แบบฝังใต้ดิน และจะไม่นิยมใช้ท่อพีวิซี (PVC) เพราะ ท่อ PE มีเนื้อเหนียว แข็งแรงทนทานต่อสารเคมีและสภาพอากาศมากกว่า ทนต่อรับแรงกระแทกได้ ไม่เป็นสนิม ไม่มีตะไคร้ มีอายุการใช้งานยาวนาน เหมาะกับฝังดินมากกว่า 

การเดินท่อฝังดินนั้นจะต้องนำการขุดดินในสวนให้ลึกพอที่จะนำท่อ PE ลงไปฝังได้ และต้องไม่ลึกจนหลบหัวสปริงเกอร์จนหัวทำงานไม่ได้ หากเป้นการติดตั้งหัวสปริงเกอร์ที่รดน้ำสนามหญ้าในพื้นที่กว้างๆ อาจจะต้องคำนวนพื้นที่และรัศมีของการกระจายน้ำให้ครอบคลุม แต่ถ้าเป็นการเดินท่อเพื่อรดน้ำต้นไม้ พวกไม้ดอกไม้ประดับเล็กๆ อาจจะเลือกใช้เป็นมินิสปริงเกอร์ที่กระจายละอองน้ำเล็กๆ โดยติดตั้งให้หันไปในทิศทางที่ต้องการ และควรคำนวนปริมาณของหัวสปริงให้เพียงพอต่อต้นไม้ทั้งหมดด้วย 

คำถามที่พบบ่อย ในขั้นตอนการต่อสปริงเกอร์กับท่อ PE

Similar Posts