ราคาเหล็กรูปพรรณเป็นเรทราคาที่ช่างผู้รับเหมาจะต้องทำหน้าที่เช็กข้อมูลอัปเดตใหม่อยู่เสมอว่าราคาเหล็กวันนี้มีการเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างไรบ้าง เนื่องจากราคาเหล็กตัวซี ราคาเหล็กกลม หรือแม้แต่ราคาเศษเหล็กวันนี้อาจแตกต่างไปจากข้อมูลเดิมที่หลายคนเคยทราบ สำหรับร้านเฮียเชษฐที่มีวัสดุก่อสร้างจำหน่ายครบวงจร ผู้รับเหมาสามารถที่จะเข้ามาตรวจสอบเช็กดูราคาเหล็กรูปพรรณได้ทั้งแบบรีดเย็นและแบบรีดร้อน ทั้งนี้เพราะร้านของเฮียเชษฐเข้าใจผู้รับเหมาในเรื่องของการวางแผนบริหารงบประมาณในการทำงาน หากผู้รับเหมาเช็กราคาเหล็กได้ก็ย่อมวางแผนได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นเอง

เหล็กรูปพรรณคืออะไร

เหล็กรูปพรรณ คือ ประเภทของเหล็กที่ได้ผ่านขั้นตอนการสร้างหรือผลิตแปรรูปให้ออกมามีรูปทรงต่างๆ มากมาย เพื่อให้สามารถนำไปใช้ได้อย่างหลากหลายและมีความเหมาะสมกับงาน ทำให้ช่างผู้รับเหมาะสามารถทำงานก่อสร้างสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างสะดวกและทำให้ได้ผลลัพธ์ออกมาตรงตามโจทย์ที่ลูกค้าต้องการ

เหล็กรูปพรรณมีกี่ชนิด แต่ละชนิดแตกต่างกันอย่างไร

หากแบ่งเหล็กรูปพรรณตามที่นิยมใช้ในงานอาคารต่าง ๆ ทั่วไป

จะสามารถแบ่งได้ 2 ประเภทหลัก ได้แก่

1. เหล็กรูปพรรณแบบรีดเย็น (Cold formed structural steel)

เหล็กรูปพรรณแบบรีดเย็น หรือเหล็กขึ้นรูปเย็น ผลิตมาจากการขึ้นรูปเหล็กในอุณหภูมิที่เป็นปกติ ผ่านการพับหรือม้วนงอแผ่นเหล็ก ตลอดจนใช้การเชื่อมเหล็กเข้าด้วยกันเพื่อให้ได้รูปทรงที่ต้องการ โดยแบ่งย่อยได้ ดังนี้

  • ท่อเหล็ก

คือวัสดุก่อสร้างที่ผลิตมาจากเหล็กกล้าที่มีทนทานพิเศษ จึงสามารถนำไปใช้ในงานต่าง ๆ ได้หลายประเภททั้งในงานอุตสาหกรรม ตลอดจนงานธุรกิจต่าง ๆ

  • เหล็กกล่อง

เหล็กกล่อง คือเหล็กรูปพรรณ ซึ่งผลิตจากกรมวิธีรีดเย็น เพื่อให้สามารถนำไปใช้ในงานโครงสร้างต่าง ๆ ได้ โดยมีคุณสมบัติของหน้าตัดที่รองรับแรงต้านทาน

  • เหล็กแบน

คือวัสดุเหล็กที่มีรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้ายาว มีคุณสมบัติทนต่อแรงยืดพบได้ดีทำให้เปลี่ยนรูปทรงได้หลากหลายจากที่มีให้เลือกใช้หลายขนาด

  • เหล็กสี่เหลี่ยมตัน

คือวัสดุเหล็กที่ขึ้นรูปรีดด้วยความเย็น ทำให้มีหน้าตัดเป็นทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัสตันทั้งเส้น ลักษณะพื้นผิวเรียบ ขอบมีความคม แข็งแรง นิยมใช้ในงานตกแต่งต่างๆ

  • เหล็กตัวซี

คือเหล็กรูปพรรณที่ขึ้นรูปเย็น ลักษณะที่บ่งบอกความพิเศษเฉพาะตัวมาจากหน้าตัดรูปตัวซี ขอบโค้งมน มีความแข็งแรง เหมาะที่จะนำไปใช้งานในที่สูง

2. เหล็กรูปพรรณแบบรีดร้อน (Hot rolled structural steel)

เหล็กรูปพรรณแบบรีดร้อน ผลิตมาจากกรรมวิธีรีดให้เหล็กมีรูปตรง รวมถึงหน้าตัดตามที่อยากจะได้ ภายในอุณหภูมิสูงถึง 1,200 °C เพราะจะส่งผลทำให้สามารถรีดเหล็กให้เกิดเป็นหน้าตัดใหญ่ หนา อีกทั้งยังสามารถสร้างออกมาได้อย่างหลากหลายรูปทรง ซึ่งแบ่งย่อยได้ ดังนี้

  • เหล็ก H-Beam

คือเหล็กรูปพรรณรีดร้อนที่มีขนาดใหญ่ และแข็งแรงกว่าเหล็กรูปทรงอื่น ๆ ทั้งนี้เราะตั้งใจดีไซน์ออกมาให้สามารถรับน้ำหนัก ตลอดจนกระจายแรงได้

  • เหล็ก I-Beam

คือเหล็กที่มีลักษณะพิเศษคล้ายตัวอักษร I ในภาษาอังกฤษ โดยจะมีมุมลบเหลี่ยมแกนกลางมาถึงปลาย และมีคุณสมบัติในการต้านการดัดโค้ง และบิดได้

  • เหล็กไวด์แฟลงค์

คือเหล็กรูปพรรณรีดร้อน ที่มีรูปร่างสวยงาม มีคุณสมบัติคงทน แข็งแรง ส่งผลทำให้มันถูกนำไปใช้สำหรับงานด้านโครงสร้างเหล็กโดยเฉพาะ

  • เหล็กรางน้ำ

คือเหล็กรูปพรรณรีดร้อน ที่มีลักษณะหน้าตัดเรียบเป็นรูปตัว U ขนาดขาของทั้งสองด้านจึงได้ความยาวที่สมมาตรกัน นำไปใช้ในงานบันไดและงานแบบต่าง ๆ

  • เหล็กฉาก

คือเหล็กรูปพรรณรูปทรงตัว L ผลิตจากเหล็กรีดร้อนที่มีคุณภาพสูง เนื่องจากมันจะถูกนำไปใช้ในงานโครงสร้าง เหล็กฉากจึงถือเป็นองค์ประกอบสำคัญ

  • เหล็กแผ่น

คือเหล็กที่มีลักษณะเป็นแผ่น เรียบ ผลิตมาจากโลหะผสมเหล็ก ดีบุก และจะแบบแบนและขด เพื่อให้สามารถตัดขนาดที่ต้องการ และนำไปใช้ได้กับหลายงาน

  • เหล็กเส้นก่อสร้าง

คือเหล็กเสริมที่เป็นเหล็กเส้นขนาดใหญ่ เช่น เหล็กข้ออ้อย ถูกนำไปใช้ในงานก่อสร้างอาคาร คอนโดบ้าน ทั้งนี้เพื่อเสริมงานประเภทคอนกรีต ถนน รวมถึงสะพานต่าง ๆ 

เฮียเชษฐแนะนำบทความ : เหล็กข้ออ้อยคืออะไร มีกี่เกรด แต่ละเกรดเหมาะสำหรับการใช้งานแบบไหน
นอกจากนี้ทาง Hiachet มีบทความดีๆ ที่จะมาช่วยคุณได้ คลิกเข้าไปเพื่อศึกษาเพิ่มเติมได้เลย

ความแตกต่างระหว่างเหล็กรูปพรรณรีดเย็น VS เหล็กรูปพรรณรีดร้อน

ความแตกต่างจะเป็นเรื่องของคุณสมบัติภายใน เนื่องจากเหล็กรูปพรรณรีดร้อนได้ถูกรีดตอนที่เหล็กมีอุณหภูมิสูง เหล็กที่ได้รับทั้งความร้อน เย็นตามขั้นตอนดังกล่าวส่งผลทำให้เหล็กมีความเหนียว ละเอียด แข็งแรง และทนทาน ตลอดจนทำให้มีหน้าตัดที่ใหญ่ เหล็กรีดร้อนจึงถูกนำไปใช้ในงานโครงสร้างหลัก อาทิ เสา โครงหลังคา ทั้งนี้ก็เพื่อทำหน้าที่รับน้ำหนัก ในขณะที่เหล็กรูปพรรณรีดเย็น เนื้อเหล็กจะมีคุณสมบัติของความเหนียวน้อยกว่าจึงมีความบาง และหน้าตัดที่เล็กกว่า จุดเด่นคือน้ำหนักเบา จึงสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในงานที่ต้องการโครงสร้างชั่วคราวหรืองานโครงสร้างที่รับแรงน้อยได้ อาทิ นั่งร้าน งานหลังคา 

เหล็กรูปพรรณมีลักษณะการใช้งานแบบไหน

เหล็กรูปพรรณมีบทบาทสำคัญในการทำหน้าที่เป็นวัสดุก่อสร้าง โดยเหล็กรูปพรรณมีหลายประเภทถูกนำมาใช้พัฒนางานอุตสาหกรรม การคมนาคมต่าง ๆ ให้กับประเทศสำหรับเหล็กรูปพรรณที่ถูกเลือกนำมาใช้งานอยู่เสมอ มีดังนี้

  • เหล็กรูปตัวซี

นิยมนำมาใช้กับงานโครงสร้างอาคารสูงใหญ่และงานสะพาน 

  • เหล็กรางน้ำ

นิยมนำมาใช้ในงานที่มีโครงสร้างใหญ่ที่ต้องรับน้ำหนักมาก อาทิ เสาตอม่อ 

  • เหล็กฉากหรือเหล็กตัว L

นิยมนำมาใช้ในงานโครงสร้างหลังคา งานโกดัง 

  • ท่อเหล็กดำและท่อเหล็กอาบสังกะสี

นิยมนำมาใช้งานเดินประปา งานโครงหลังคา และงานนอกสถานที่ 

  • เหล็กแบน

นิยมนำมาใช้ทำงานเชื่อม เช่น งานเหล็กดัด งานฝาตะแกรง 

ราคาเหล็กรูปพรรณ อัปเดตล่าสุดปี 2566

ข้อมูลร้านเฮียเชษฐเราแบ่งราคาเหล็กรูปพรรณให้ช่างผู้รับเหมาสามารถอัปเดต เช็กดูได้ง่าย โดยแยกออกเป็น 2 ประเภทหลัก ดังนี้

1. ราคาเหล็กรูปพรรณแบบรีดเย็น

สามารถแบ่งย่อยได้ 5 ชนิด ดังนี้

  • ท่อเหล็ก

เริ่มต้น: เส้นผ่านศูนย์กลางภายนอกท่อ (OD) 1″ ความหนา 2.3

น้ำหนัก 10 กิโลกรัมต่อเส้น จำนวน 91 เส้น/มัด ราคา 299.25 บาท

สูงสุด: เส้นผ่านศูนย์กลางภายนอกท่อ (OD) 4″ ความหนา 3.2

น้ำหนัก 48 กิโลกรัมต่อเส้น จำนวน 19 เส้น/มัด ราคา 1,436.40 บาท

  • เหล็กกล่อง

เริ่มต้น: ขนาดเหล็กกล่อง 1/2″ x 1/2″ x 1.2 MM (12 มม.)

น้ำหนัก 2.4 กิโลกรัม ราคา 82 บาท

สูงสุด: ขนาดเหล็กกล่อง 90 x 90 x 6.0 MM JIS

น้ำหนัก 85.75 กิโลกรัม ราคา 2,103 บาท

  • เหล็กแบน

เริ่มต้น: ขนาดเหล็กกล่องแบน 25×6 มม. x 6 ม.

น้ำหนัก 7.10 กิโลกรัม จำนวน 288 จำนวน/มัด ราคา 256.20 บาท

สูงสุด: ขนาดเหล็กกล่องแบน 100×25 มม. x 6 ม.

น้ำหนัก 117.80 กิโลกรัม จำนวน 18 จำนวน/มัด ราคา 4244.10 บาท

  • เหล็กสี่เหลี่ยมตัน

เริ่มต้น: ขนาด 16 มม. x 16 มม. x 6 ม.

น้ำหนัก 12.10 กิโลกรัม จำนวน 169 จำนวน/มัด ราคา 425.25 บาท

สูงสุด: ขนาด 75 มม. x 75 มม. x 6 ม.

น้ำหนัก 265 กิโลกรัม จำนวน 9 จำนวน/มัด ราคา 9702 บาท

  • เหล็กตัวซี

เริ่มต้น: ขนาด 75*45*15*2.3 มม. * 6 ม.

น้ำหนัก 17-18 กิโลกรัม จำนวน 100 จำนวน/มัด ราคา 525 บาท

สูงสุด: ขนาด 150*50*20*3.2 มม. * 6 ม.

น้ำหนัก 36-37 กิโลกรัม จำนวน 60 จำนวน/มัด ราคา 1092 บาท

2. ราคาเหล็กรูปพรรณแบบรีดร้อน

สามารถแบ่งย่อยได้ 2 ชนิด ดังนี้

  • เหล็ก H-Beam

เริ่มต้น: ขนาดเหล็กเอชบีม 100x100x6x8 มม. x 6 ม. (Z)

น้ำหนัก 103.20 กิโลกรัมต่อเส้น ราคา 3,470.25 บาท/เส้น

สูงสุด: ขนาดเหล็กเอชบีม SYS 400x400x13x21 มม. x 6 ม.

น้ำหนัก 1032 กิโลกรัมต่อเส้น ราคา 39,443.25 บาท/เส้น

  • เหล็ก I-Beam

เริ่มต้น: ขนาดเหล็กไอบีม 150x75x5.5×9 มม. x 6 ม. (Z)

น้ำหนัก 102.60 กิโลกรัมต่อเส้น ราคา 3,449.25 บาท/เส้น

สูงสุด: ขนาดเหล็กไอบีม (SYS) 600x190x13x25 มม. x 6 ม.

น้ำหนัก 798 กิโลกรัมต่อเส้น ราคา 30,754.50 บาท/เส้น

  • เหล็กไวด์แฟลงค์

เริ่มต้น: ขนาดเหล็กไวด์แฟลงค์ 100x50x5x7 มม. x 6 ม. (Z)

น้ำหนัก 55.80 กิโลกรัมต่อเส้น ราคา 1,874.25 บาท/เส้น

สูงสุด: ขนาดเหล็กไวด์แฟลงค์ SYS 700x300x13x24 มม. x 6 ม.

น้ำหนัก 1110 กิโลกรัมต่อเส้น ราคา 42,425.25 บาท/เส้น

  • เหล็กรางน้ำ

เริ่มต้น: ขนาดเหล็กรางน้ำ SYS 100x50x5x7.5 มม. x 6 ม.

น้ำหนัก 56.80 กิโลกรัมต่อเส้น ราคา 2,136.75 บาท/เส้น

สูงสุด: ขนาดเหล็กรางน้ำ รุ่นเต็ม TS 200x90x8x13.5มม. x 6 ม.

น้ำหนัก 181.80 กิโลกรัม จำนวน 12 มัด ราคาต่อเส้นก่อน VAT 6,636 บาท

  • เหล็กฉาก

เริ่มต้น: ขนาดเหล็กฉาก SYS 120x120x8 มม. x 6 ม.

น้ำหนัก 88.20 กิโลกรัมต่อเส้น ราคา 3,307.50 บาท/เส้น

สูงสุด: ขนาดเหล็กฉากรุ่นเต็ม TS 12x100x100 มม. x 6 ม.

น้ำหนัก 106 กิโลกรัม จำนวน 17 เส้นต่อมัด ราคาต่อเส้นก่อน VAT 3,591 บาท

  • เหล็กแผ่น

เริ่มต้น: ขนาดเหล็กแผ่นดำ 1.2 มม. X 4′ x 8′

ราคา/ก.ก. 924 บาท/เส้น

สูงสุด: ขนาดเหล็กแผ่นลาย 8.8 มม. x 5′ x 10′

ราคา/ก.ก. 13282.50 บาท/เส้น

  • เหล็กเส้นก่อสร้าง

เริ่มต้น: ขนาดเหล็กเส้นกลม 6 มม. x 10 ม.

น้ำหนัก 2.22 กิโลกรัม ราคาต่อเส้นก่อน VAT 55.65 บาท

สูงสุด: ขนาดเหล็กเส้นอ้อย (โรงงาน) 32 มม. x 12 ม. SD 50

ราคา/ก.ก. 75.75 บาท/เส้น ราคาต่อเส้นก่อน VAT 1,774.50 บาท

แนวโน้มราคาเหล็กวันนี้สามารถตรวจสอบกับทางร้านเฮียเชษฐ เนื่องจากทางร้านมีข้อมูลราคาเหล็กรูปพรรณที่อัปเดตเป็นปัจจุบันทุกเดือน โดยทางร้านเฮียเชษฐยังยินดีให้คำปรึกษากับผู้รับเหมาเพื่อให้ได้ราคาที่มีความคุ้มค่ามากที่สุดร่วมด้วย โดยรายละเอียดค่าบริการต่างๆ สามารถสอบถามได้ที่ เบอร์: 097-234-5734 หรือทางไลน์แอด Line id : @hiachet (มีเครื่องหมาย@)

คำถามที่พบบ่อย (FAQ)

Similar Posts