“ถังเก็บน้ำ” เป็นอุปกรณ์กักเก็บน้ำที่หลายๆ บ้านมักจะติดตั้งไว้ในบ้านเพื่อเก็บน้ำไว้ในยามขาดแคลน หรือเพิ่มสภาพคล่องกับการใช้บ้านให้ไม่สะดุดและเพียงพอต่อการใช้งานของคนในครอบครัว และหลายๆ คนคิดว่าการติดตั้งถังเก็บน้ำ ถังเก็บน้ำเป็นวิธีที่ซับซ้อน ตั้งแต่การเลือกพื้นที่ เลือกถัง และต้องเลือกช่างที่มีความชำนาญ วันนี้เราจึงมีข้นตอนการติดตั้งถังเก็บน้ำมาให้ดูเพื่อจะได้ช่วยเตรียมความพร้อมให้ครอบครัวของคุณ

ก่อนติดตั้งถังเก็บน้ำต้องทำอย่างไรบ้าง? 

สำหรับบ้านไหนที่จะกำลังคิดว่าจะติดตั้งถังเก็บน้ำทั่วไป หรือติดตั้งถังเก็บน้ำแบบไหน เจ้าของบ้านจะต้องเตรียมการดังนี้ต่อไปนี้ 

  •  เตรียมพื้นที่ให้พร้อมสำหรับการติดตั้งถังเก็บน้ำ โดยพื้นที่นั้นๆ จะต้องมีความเรียบเสมอกัน ไม่เป็นหลุมเป็นบ่อ หรือมีเนินลาดเอียง 
  • พื้นที่จะต้องมีขนาดที่พอดีกับถังเก็บน้ำหรือถังเก็บน้ำ รอบๆ ถังต้องมีพื้นที่เหลือเพียงสำหรับตรวจสอบและซ่อมบำรุงรายปีด้วย  
  • พื้นที่นั้นๆ จะต้องอยู่ใกล้กับท่อประปาหลักเพื่อให้น้ำสามารถไหลเข้าถังได้อย่างง่าย ไม่ติดปัญหาเรื่องการลำเลียงน้ำ

ประเภทของการติดตั้งถังเก็บน้ำ 

การติดตั้งถังเก็บน้ำหรือถังเก็บน้ำนั้นโดยปกติแล้วจะสามารถติดได้ 2 วิธี คือ

1. ระบบติดตั้งถังเก็บบนพื้นดิน 

ส่วนใหญ่มักจะติดตั้งไวแถวข้างบ้านหรือหลังบ้าน เป็นการติดตั้งถังเก็บน้ำหรือถังเก็บน้ำที่ทำการเดินท่อน้ำเข้าสู่ตัวบ้านโดยตรงผ่านจากมิเตอร์หน้าบ้าน เชื่อมต่อมาที่ปั๊มน้ำเพื่อจ่ายน้ำไปไปยังส่วนต่างๆ ของบ้าน ปั๊มจะทำงานก็ต่อเมื่อมีการใช้น้ำเท่านั้น ระบบนี้จะเหมาะสำหรับบ้านที่มีสมาชิกประมาณ 4-6 คน หรือบ้านเดี่ยวชั้นเดียว หรือ บ้านเดี่ยวไม่เกินสองชั้น  

ข้อดีของการติดตั้งถังเก็บน้ำบนดิน 

  • ดูแลรักษาง่าย 
  • ซ่อมง่าย ระบบติดตั้งไม่ซับซ้อน
  • ราคาค่าบริการติดตั้งมักจะถูก 
  • หาช่างซ่อมบำรุงง่าย

2. ระบบติดตั้งถังเก็บบนอาคาร

ระบบนี้เป็นการติดตั้งถังเก็บน้ำด้วยการวางถังเก็บน้ำไว้สองชั้น คือ ถังแรกติดตั้งแบบระบบที่ 1 หรือติดตั้งแบบระบบบนพื้นดิน จากนั้นให้เดินท่อขึ้นไปหาถังเก็บน้ำอีกถังที่อยู่ด้านบนของบ้านหรืออาคาร เพื่อใช้แรงดันน้ำกระจายน้ำไปสู่ส่วนต่างๆ ในบ้าน วิธีนี้จะเหมาะสมสำหรับบ้านที่อยู่กันเกิน 10 คนขึ้นไป หรือบ้านทาวน์โฮม ทาวน์เฮ้าท์ อาคารสูงเกิน 3 ชั้น เพราะหากใช้ระบบติดตั้งแบบพื้นดินอย่างเดียวน้ำจะไม่พอส่งขึ้นไปนั่นเอง 

ข้อดีของการติดตั้งถังเก็บน้ำบนอาคาร

  • สามารถพื้นปริมาณการกักเก็บน้ำได้เยอะกว่าเดิม
  • ประหยัดพื้นที่บนพื้นดิน เหมาะสำหรับบ้านที่มีพื้นที่รอบบ้านไม่มาก
  • มีประสิทธิภาพในการจ่ายน้ำสูง ไม่มีปัญหาการจ่ายน้ำติดขัด

ข้อควรระวัง

ต้องติดตั้งถังน้ำถังแรก (บนพื้นดิน) และถังที่สอง (บนอาคาร) ให้มีความสูงห่างกันไม่น้อยกว่า 6 เมตร 

วิธีติดตั้งถังเก็บน้ำ (บนดิน) ด้วยตัวเอง 

  1. เตรียมเตรียมพื้นที่สำหรับถังเก็บน้ำพร้อมปั๊มให้เพียงพอต่อการใช้งาน โดยพื้นที่รอบๆ จะต้องไม่มีเศษดิน เศษหิน กรวด และพื้นที่ทั้งหมดจะต้องเรียบเสมอกัน ไม่เอียง 
  2. วางถังเก็บน้ำหรือแทงก์ลงไป ไม่ควรวางถังให้ชิดขอบกำแพงหรือรั้วมากจนเกินไป เพราะจเป็นอุปสรรคในการตรวจเช็ก และซ่อมบำรุงถังเก็บน้ำในอนาคต
  3. ใช้ข้อต่อยูเนี่ยนขนาด 1 นิ้วต่อท่อน้ำเข้าเชื่อมกับท่อ PVC, GSP หรือ PE 
  4. ใช้ตัวท่อและข้อต่อระดับเดียวต่อการต่อท่อน้ำออกให้ห่างกันแต่ละช่วงไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร
  5. ตรวจเช็กความเรียบร้อย และปิดถังเพื่อป้องกันสิ่งสกปรก สามารถเริ่มใช้งานได้ทันที 

วิธีติดตั้งถังเก็บน้ำใต้ดินและขั้นตอนที่ขาดไม่ได้

สำหรับบ้างบ้านที่อาจจะมีพื้นที่ไม่เพียงพอต่อการวางถังเก็บน้ำไว้รอบๆ บ้าน หรืออาจจะต้องหารรักษาทัศนียภาพรอบๆ บ้านให้สวยงาม ไร้สิ่งกวนตาที่อาจจะทำให้บริเวณรอบบ้านไม่สวยงาม สามารถเลือกการติดตั้งถังเก็บน้ำในรูปแบบของการฝังใต้ดินได้ โดยมีวิธีติดตั้งดังต่อไปนี้ 

1. เลือกขนาดของถังเก็บน้ำ

โดยปกติแล้วถังเก็บน้ำที่นิยมใช้ฝังใต้พื้นดินนั้นมักจะนิยมใช้ถังน้ำขนาดใหญ่เกิน 1000 ลิตรขึ้นไป ซึ่งท่านสามารถใช้สูตรคำนวณการใช้ปริมาณน้ำให้เพียงพอต่อการใช้งานของคนในบ้านได้ ดังนี้ เช่น สมาชิกภายในบ้านมี 6 คน แต่ละคนจะต้องใช้ปริมาณการใช้งานน้ำประมาณคนละ 300 ลิตรต่อวัน และต้องการสำรองน้ำให้เพียงพอต่อการใช้งานอยู่ที่ 7 วัน สูตรคำนวณจะมีหน้าตา ดังนี้ 6 X 300 X 7= 12,600 ลิตร  จากสูตรนี้จะทำให้คุณสามารถกะปริมาณถังเก็บน้ำที่บ้านคุณจะต้องมีแบบคร่าวๆ ได้ ก็คือ ถังน้ำ 5,000 ลิตร จำนวน 2 ถัง และ ถังเก็บน้ำชนิด 3,000 ลิตร 1 นั่นเอง 

2. ขุดหลุมตอกเสาเข็ม 

ขั้นตอนการขุดหลุมนั้นช่างจะคำนวนตามขนาดและความลึกของถังเก็บน้ำ จากนั้นก็จะตอกเสาเข็มลงไปเพื่อช่วยเสริมความแข็งแรงให้กับถังเก็บน้ำ ป้องกันการทรุดตัว รอยรั่วต่างๆ ของถังเก็บน้ำ และนำให้การซ่อมบำรุงง่ายขึ้นในอนาคต  

3. เทคอนกรีต

การเทคอนกรีตลงไปเพื่อใช้เป็นฐานรองรับน้ำหนักของถังเก็บน้ำ การเทคอนกรีตที่ดีที่ เนื้อคอนกรีตควรจะมีความหนาไม่น้อยกว่า 15-20 เซนติเมตร จากนั้น ทำขอบคอนกรีตให้หนาขึ้นมาเป็นเหมือนกำแพงรอบฐานอีก 4 มึม เพื่อป้องกันน้ำจากใต้ดินที่ไหลซึมเข้ามาด้วยป้องกันถังเก็บน้ำอีกที รอให้คอนกรีตแห้งประมาณ 7-10 วัน แล้วค่อยวางถังเก็บน้ำ

4. กลบถังเก็บน้ำ

การกลบปิดถังเก็บน้ำนั้น ไม่ควรใช้ดินในการกลบเนื่องจากเมื่อเวลาผ่านไป ดินอาจจะแข็งตัวขึ้นทำให้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อถังเก็บน้ำ แนะนำให้ใช้ทรายขี้เป็ดในการกลบ ให้ค่อยๆ กลบจนทรายปิดมิดถึงปากถังแล้ว จากนั้นให้ดาดปูนทรายเพิ่มเติมเพื่อล็อกไม่ให้ถังเก็บน้ำขยับหรือเคลื่อนที่จากนั้นค่อยใช้ฝาคอนกรีตปิดปากถังเป็นอันเสร็จสมบูรณ์

คำถามที่พบบ่อย

Similar Posts